วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

13.การทำงานของเคส (Case)


   เคสเป็นเพียงแค่กล่องโลหะสำหรับใส่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด, ฮาร์ดดิสก์, การ์ดจอและอื่นๆ เคสมีให้เลือกใช้กันหลายขนาดแล้วแต่ขนาดของเมนบอร์ดและการใช้งาน 
โดยจะแบ่งออกเป็น Flex/Micro ATX Case เป็นเคสขนาดเล็ก,Medium Tower Case เป็นเคสที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากขนาดกำลังพอเหมาะ,Server/Tower Case 
   เป็นเคสที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Server มีขนาดใหญ่กว่าเคสที่ใช้กันทั่วไปมาก สำหรับวัสดุที่ใช้ทำเคสก็มีหลายประเภท เช่น เคสเหล็ก,เคสโลหะ,เคสโลหะผสม,เคสอะลูมิเนียม,เคสพลาสติก,เคสผสม

เคสประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

1.   ฐานรองเมนบอร์ด สำหรับเป็นที่ยึดเมนบอร์ดให้ติดแน่นอยู่กับเคส 
2.   ปุ่มควบคุมประกอบด้วย ปุ่ม เปิด-ปิดเครื่อง และปุ่มรีเซตเครื่อง
3.   ไฟแสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และไฟแสดงสถานะว่าตอนนี้เครื่องทำงานอยู่
4.   ลำโพงเล็กๆ ที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนข้อผิดพลาดด้วยเสียง
5.   ช่องสำหรับใส่ไดร์ฟซีดีรอม, ฟลอปปิดิสก์ไดร์ฟ และช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์
6.   Bracket เป็นช่องทางสำหรับอุปกรณ์ต้องเชื่อมต่อภายนอกกับอุปกรณ์อื่น
7.   ช่องระบายความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อน
8.   ฝาครอบเคส เป็นฝาที่สามารถ เปิด-ปิด ได้เพื่อการติดตั้งอุปกรณ์ภายในเคส
9.   เพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายพลังงาน โดยมากมักมาพร้อมกับเคสเสมอ
10. พอร์ต USB และพอร์ตมัลติมิเดีย ซึ่งจะอยู่ด้านหน้าเคส ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ได้สะดวกขึ้น


     ถ้ามองจากด้านหน้าจะเห็นได้ว่าส่วนผู้ใช้จะใช้งานได้เพียงแค่ปุ่มสวิทช์ไม่กี่อัน ซึ่งปุ่มที่สำคัญคือ ปุ่มเปิด / ปิด เครื่อง (on /off หรือ power) ซึ่งมักจะเป็นปุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
เพื่อสะดวกในการใช้งานบางเครื่องจะมีปุ่มนี้เพียงปุ่มเดียวเท่านั้นที่อยู่บนเครื่อง 
  แต่บางเครื่องจะมีปุ่มที่เล็กๆที่กำกับไว้ด้วย คำว่า reset เพื่อใช้แทนการเปิดปิดเครื่องใหม่โดยไม่มีการปิดเครื่องซึ่งเป็นเพียงแต่ควบคุมการทำงานของซีพียูให้กลับไปเริ่มต้นใหม่เหมือนเพิ่งเปิดเครื่องเท่านั้น ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าอาจจะมีปุ่มที่เขียนว่า turbo ซึ่งโดยปกติจะเป็น on แต่ถ้ากดซ้ำให้ off ก็จะเป็นการลดเครื่องเร็วของเครื่องลง 
  เนื่องจากซอฟต์แวร์สมัยก่อนบางตัวอาจไม่สามารถทำงานได้ถูกต้อง ซึ่งตัวเครื่องใหม่รุ่นปัจจุบันไม่มีเรื่องแบบนี้อีกแล้ว ส่วนปุ่มที่เห็นได้ก็จะเป็นปุ่มของอุปกรณ์ในเครื่องซึ่งได้แก่ ดิสเก็ตต์ (disketteหรือ floppy disk) และซีดีรอม (cd - rom) 
  ซึ่งสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลจริง ๆ ไม่ได้ติดมากับตัวเรื่องแต่ปุ่มเหล่านี้จะใช้สำหรับนำแผ่นดิสก์หรือซีดีออกจากไดรว์เหล่านั้น
  ดวงที่จะติดสว่างอยู่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องเพื่อแสดงว่าขณะนี้กำลังเปิดเครื่องอยู่ส่วนดวงไฟอีกดวงจะกระพริบเป็นบางครั้ง 
  ก็คือไฟที่แสดงว่ากำลังมีการใช้งานฮาร์ดดิสก์อยู่ ซึ่งอยู่จะเป็นการอ่านหรือเขียนก็แล้วแต่ส่วนอีกดวงหนึ่งในปัจจุบันก็ไม่ค่อยเห็นกันแล้วก็คือไฟของปุ่ม turbo ส่วนด้านหลังของเครื่องจะเห็นช่องเสียบสายต่อต่างๆ 
   จำนวนมากที่เครื่องพีซีได้เตรียมไว้สำหรับการใช้งานหลากหลาย ได้แก่ คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ ช่องต่อโมเด็ม (หรือที่เรียกว่า พอร์ตอนุกรม - serial port)
  ช่องต่อเครื่องพิมพ์ (หรือที่เรียกว่าพอร์ตขนาน - parallel port) พอร์ต USB พอร์ตเกมสำหรับต่อ จอยสติ๊ก และอาจจะมีช่องเสียบของลำโพง ไมโครโฟน สายเสียบโทรศัพท์ สายเน็ตเวิร์ก 

   รวมทั้งช่องเสียบสายไฟเลี้ยงตัวเครื่องที่ต้องนำไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟในบ้านหรืออื่นๆ อีกมากมายตามแต่ว่าเครื่องนั้นมีอุปกรณ์อะไรติดตั้งอยู่บ้าง

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

12.การทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ

   อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นำอุปกรณ์มาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูล เพื่อสแกนรูปภาพ เพื่อทำให้เกิดเสียงเพลง เพื่อควบคุมไฟวิ่ง เพื่อตั้งศูนย์ถ่วงล้อรถยนต์ เพื่อควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงานต่าง ๆเป็นต้น 
   หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิด จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจะให้อุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดนั้นทำงานใด แต่อุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์จะต้องต่อสายเคเบิล หรือสายนำสัญญาณเข้ากับพอร์ตด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ 
   ซึ่งอาจจะเป็นพอร์ตขนานหรือพอร์ตอนุกรมก็แล้วแต่ที่จะกำหนด และโดยทั่วไปจะต้องมีโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นต่อพ่วงเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์ จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับเครื่องพิมพ์ตัวนั้นหรือนำคอมพิวเตอร์ไปควบคุมไฟวิ่งจะต้องเขียนโปรแกรมควบคุม ไฟวิ่งติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ด้วย

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

11.การทำงานของซีพียู (CPU: Central Processing Unit)


        CPU ทำหน้า เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ปวลผมข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน 
        ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุดแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป้น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน

        กลไกการทำงานของซีพียู การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำลั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่งหน้าที่หลักของซีพียู คือ ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบตลอดจนทำการประมวล 
        กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับชับซ้อน ผู้พัฒนาซพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น 


วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

10.การทำงานของเมนบอร์ด (Mainboard)


   ทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่อคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว 
   เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มี
   ความสวยงาม ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply)ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น


ส่วนประกอบของเมนบอร์ดจะประกอบไปด้วย



วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

9.การทำงานของจอภาพ (Monitor)

   จอภาพทำงานโดยการแสดงภาพซึ่งอาจเป็นภาพกราฟิกหรือตัวอักษรซึ่งเกิดจากการประมวลผลของการ์ดวีจีเอ (VGA Card) จอภาพแบ่งเป็น ประเภท คือจอภาพสีเดียวหรือจอภาพโมโนโครม ( Monochrome) และจอสี ( Color Monitor) 
   ปัจจุบันจอภาพสีเดียวนั้นไม่เป็นที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ หากจะมีใช้ก็เฉพาะงานเฉพาะอย่างเท่านั้น ส่วนที่นิยมใช้ก็คือจอสี โดยแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภท คือจอสีวีจีเอ(VGA = Video Graphics Array)และจอสี Super VGA(SVGA = Super Video Graphics Array )และจอ LCD(Liquid Crystal Display) 
   ซึ่งประเภทหลังนี้มีราคาแพงมาก จอภาพที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือจอ SVGA เนื่องจากมีราคาไม่แพงมากนัก และเหมาะกับ Application ที่ออกแบบให้มีความสามารถแสดงภาพกราฟิก นอกจากนี้ Application ประเภทมัลติมีเดียหรือเกมส์ต่างๆ ต่างก็ต้องการจอภาพที่มีความละเอียดสูง (High Resolution) สามารถแสดงสีได้หลายๆสี

   จอภาพมีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์โดยจะมีกระแสไฟฟ้าแรงสูง ( High Voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัว อิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง



    ความเป็นมาของการ์ดวีจีเอการ์ดวีจีเอหรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ VGA Adapter Card ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของจอภาพ โดยข้อมูลที่จะแสดงจะถูกส่งจากซีพียูมายังการ์ดวีจีเอ เพื่อประมวล ในขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลจากดิจิตอลเป็นอนาล๊อก แล้วส่งไปยังวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ของจอภาพ เพื่อให้ปรากฎเป็นภาพบนหน้าจอ













วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

8.การทำงานของการ์ดจอ (Graphic Card)

         
   ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor)ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือAGP (Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก และอีกระบบหนึ่งคือ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด



    
   โปรแกรมในปัจจุบันมีความต้องการการคำนวณทางด้านกราฟิคที่สูงมาก อย่างที่รู้ๆ กันคือ เกมส์ ที่เรากันอยู่ในปัจจุบันครับ บรรดาผู้ผลิตต่างก็พัฒนาเกมของตนให้มีภาพกราฟิคที่ละเอียดสมจริง การ์ดจอจึงต้องพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งกราฟฟิคที่
สวยงาม ตระกาลตา ปัจจุบันนี้ก็ HD(Hi definition) กันเกือบหมดแล้ว



วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

7.การทำงานของเมาส์ (Mouse)

   เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer" (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) 
   เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป 

   กลไกการทำงานของเมาส์

      กลไกการทำงานของเมาส์ มี 3 ประเภท คือ Mechanical, Opto-Mechanical, Optical

Mechanical


    เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง ที่สามารถกลิ้งไปมาได้ เมื่อทำการเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ซึ่งลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อกับจานแปลรหัส (Encoder) บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ 

    เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส ก็จะสร้างสัญญาณ บอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพต่อไป




Opto-Mechanical

    กลไกการทำงานคล้าย Mechanical แต่ตัวรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder จะมี LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส

Optical

    กลไกการทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์ จะมี LED 2 ตัวให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำ และสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีดำ จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสง เป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไป จะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่