วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

12.การซ่อมบำรุงและอาการเสียต่าง ๆ

ถาม

เปิดเครื่องแล้ว คอมพิวเตอร์นิ่งสนิท

bottom
ให้ ตรวจสอบที่พัดลมด้านท้ายเครื่องว่าหมุนหรือไม่ หากไม่หมุนอาจเป็นไปได้ว่าปลั๊กไฟเสีย หรืออาจขาดใน และให้เข้าไปเช็คที่ฟิวส์ของเพาเวอร์ซัพพลาย หากฟิวส์ขาดให้ซื้อฟิวส์รุ่นเดียวกันมาเปลี่ยน แต่ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายเสีย ควรแนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายใหม่
แหล่งจ่าย
เปิดฝาเคส ดูการเชื่อมต่อสายภายใน
atxpowerconnector 1
สาเหตุที่ 2 ซีพียูหลวม
วิธีแก้ เปิดฝาด้านข้าง ลองขยับดู ว่าขาล๊อคหรือฮีทซิงค์ที่พัดลมซีพียูแน่นรึยัง ลองถอดแล้วใส่ใหม่อีกครั้งนึง

ถาม

อาการบูตเครื่องแล้วจอมืด แต่ไฟ LED หน้าจอและไฟเคสติด

bottom
ให้ ตรวจสอบที่ปุ่มการปรับสีและแสงที่หน้าจอก่อน จากนั้นจึงเช็คในส่วนของขั้วสายไฟ และขั้วสายสัญญาณระหว่างเคสและจอภาพ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะเสียบการ์ดจอไม่แน่นหากตรวจเช็คอาการเหล่านี้แล้ว ทุกอย่างเป็นปกติดีสาเหตุน่าจะเกิดจากการ์ดแสดงผล และจอภาพ ให้นำอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวไปลองกับอีก เครื่องหนึ่งที่ทำงานเป็นปกติ หากการ์ดแสดงผลเสียต้องส่งเคลมหรือให้ลูกค้าเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเป็นจอภาพ ให้ตรวจเช็คอาการอีกครั้ง ถ้าซ่อมได้ก็ควรซ่อม

ถาม

อาการ ที่จอภาพแสดงข้อความผิดพลาดว่า HDD FAILURE 

bottom
ตรวจ สอบการตั้งค่าในไบออสว่าถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบขั้วต่อ IDE ว่ามีการเสียบผิดด้านหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่า ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่าเสียหรือไม่ โดยเข้าไปในเมนูไบออส และใช้หัวข้อ IDE HDD Auto Detection ตรวจหาฮาร์ดดิสก์ ถ้าไม่เจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีปัญหาแต่หากเจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์ปกติดี
ถาม

อาการ เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาแล้วมีสัญญาณเตือนดัง บี๊บ………..บี๊บ

bottom
ตรวจ สอบแรมว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบการติดตั้งการ์ดต่างๆ บนเมนบอร์ดว่าติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบซีพียูและการเซ็ตจัมเปอร์ว่าถูกต้องหรือไม่วิธีแก้ไขเซ็ตจัมเปอร์ ใหม่โดยตรวจเช็คจากคู่มือเมนบอร์ด

ถาม

อาการเครื่องไม่อ่าน – เขียน แผ่นซีดี

ปัญหา : คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านแผ่นซีดีได้ 
สาเหตุ : ระบบไม่รู้จักซีดีไดรฟ์ 
การแก้ปัญหา : ปิดคอมพิวเตอร์ แล้วคอยอย่างน้อย 30 วินาที จากนั้นเปิดคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง 
ปัญหา : คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านแผ่นซีดีได้ 
สาเหตุ : ใส่แผ่นซีดีกลับข้าง 
การแก้ปัญหา : นำแผ่นซีดีออก แล้วพลิกแผ่นซีดีกลับ จากนั้นโหลดเข้าไปใหม่ 
ปัญหา : คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านแผ่นซีดีได้ 
สาเหตุ : แผ่นซีดีสกปรก 
การแก้ปัญหา : ทำความสะอาดแผ่นซีดีด้วยชุดทำความสะอาด

สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย 

-ความร้อน -ฝุ่นผง -สนามแม่เหล็ก -สัญญาณรบกวนจากสายไฟฟ้า -ไฟฟ้าสถิตย์ -น้ำและสนิม


การดูแลรักษาอุปกรณ์

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

11.เมนบอร์ด (Mainboard)


เมนบอร์ด (Mainboard) คือ ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ส่วนประกอบของเมนบอร์ดจะประกอบไปด้วย

10.พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ

การดูแลรักษาเมนบอร์ด (Main board or Motherboard)

ในส่วนของจอภาพนั้นอาจเสียหายได้เช่น ภาพอาการเลื่อนไหลภาพล้ม ภาพเต้นหรือไม่มีภาพเลย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะต้องให้ช่างเท่านั้นเป็นผู้แก้ไข ผู้ใช้คอมพิวเคอร์ควรระมัดระวัง โดยปฏิบัติดังนี้
 
 1.อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
 2.ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิซไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
 3.
ไม่ควรปิดๆ เปิดๆ เครื่องติดๆกัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
 4.
ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไป      ย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
 5.
อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
 6.
เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นานๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกมถนอมจอภาพ (Screen Sever)    ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ

10.จอภาพ (Monitor)


เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel

การดูแลรักษาควรปฏิบัติดังนี้

1. อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
2.ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิซไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
3.ไม่ควรปิด ๆ เปิด ๆ เครื่องติด ๆ กัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
4.ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
5.อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
6.เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นาน ๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ

9.การ์ดจอ (Graphic Card)


   แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor)ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port) ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

วิธีการดูแลรักษาการ์ดจอ (Graphic Card)


   การ์ดแสดงผล (Display Card) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการประมวลผลภาพ โดยทั่วไปการใช้งานในช่วง ปีแรก มักจะไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนใหญ่จะใช้งานไปได้ถึง ปี โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเราเลือกใช้การ์ดแสดงผลราคาถูก 
   ก็อาจจะมีปัญหาบ้างในปีแรก แต่ก็ไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลยี่ห้อดัง ๆ จากอเมริกาที่มีราคาแพง จะมีความเร็วในการแสดงผลสูง มีลูกเล่นมากกว่า และมีการออกไดร์เวอร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง

8.เมาส์ (Mouse)


     เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลเช่นเดียวกับคีย์บอร์ด ทำหน้าที่เลื่อนเคอร์เซอร์ หรือสัญลักษณ์ตัวชี้เมาส์ (Mouse Pointer) บนจอภาพ การเลือกคำสั่งโดยใช้เมาส์จะให้ความสะดวกกว่าการใช้คีย์บอร์ด โดยเฉพาะในโปรแกรม ประเภท Windows ต้องใช้งานเมาส์เป็นหลัก

    วิธีทำความสะอาดให้บิดช่องข้างล่างของเมาส์บริเวณที่เป็นลูกกลิ้ง พอถอดออกแล้วก็นำลูกกลิ้งข้างในออกมา และเราจะเห็นแกนอยู่ 2 แกนที่สามารถหมุนได้และแกนวงกลม ที่สามารถหมุนได้เช่นกัน ใช้เล็บหรือไขควงก็ได้แล้วแต่ถนัด ขูดพวกฝุ่นที่เกาะกันเป็นก้อนออกมา เท่านี้เมาส์ของคุณก็จะไหลรวดเร็วดังใจนึก

    สำหรับอุปกรณ์เม้าส์แสง หรือ Optical Mouse ภายในเม้าส์ประกอบด้วยเซ็นเซอร์แสง ซึ่งมักจะทำงานผิดปกติเมื่อมีฝุ่นผง สามารถทำความสะอาดโดยอุปกรณ์เป่าฝุ่น

7.แป้นพิมพ์ (Keyboard)


       แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด (keyboard) ประกอบด้วยปุ่มตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถใส่ข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์  
       โดยปกติจะมี 101 ปุ่ม ซึ่งบางรุ่นอาจจะมีน้อย หรือมากกว่าก็ได้ โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆได้ดังนี้
การทำงานของคีย์บอร์ด จะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่ม ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าส่งให้คอมพิวเตอร์ 

101-key Enhanced keyboard
104-key Windows keyboard
82-key Apple standard keyboard
108-key Apple Extended keyboard
Notebook & Palm keyboard


   ในการทำความสะอาด Keyboard ในนำผ้าหมาดๆเช็ดให้ทั่วบริเวณแป้นพิมพ์ให้สะอาด (ห้ามใช้ผ้าชุบน้ำ)การดูแลรักษาก็ง่ายๆเอาผ้าคลุมไว้แต่ keyboard ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความสกปรกสักเท่าไรหรอก เพราะใช้อยู่ทุกวันจะมีก็แต่ขนมหล่นใส่เป็นคราบดำๆนิดหน่อยหากเสียก็เปลี่ยนใหม่

6.ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)



     อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูล แบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็น ของตนเอง

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

1.การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจาก   ฝาผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อการระบายความร้อน เป็นอย่างปกติไม่ทำให้เครื่องร้อนได้
2.ควรเลือกใช้โต๊ะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือ   ได้
3.ควรมีการตรวจสอบสถานภาพของ Hard Disk ด้วยโปรแกรม Utility ต่างๆว่ายังสามารถใช้งานได้   ครบ 100 % หรือมีส่วนใดของ Hard Diskที่ใช้งานไม่ได้

5.แรม (RAM) (Random Access Memory)


    ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันทีหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล 
     เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM

     อันที่จริงแล้วหากคุณไม่รู้สึกว่าแรมน่าจะมีการผิดปกติแล้วล่ะก็ ไม่ควรจะไปถอดมันเข้าออกอยู่บ่อยๆ เพราะมีสิทธิ์ที่สล็อตใส่แรมบนเมนบอร์ดจะหลวมได้ แต่สำหรับการดูแลรักษาตามปกติ อย่างน้อยๆ ปีนึงคุณควรถอดมันออกมาเป่าฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนตัวแรมเสียบ้าง และตรงส่วน PIN ของมัน 

     หากพบว่ามีคราบสกปรกหรือสนิมเกาะติดอยู่ละก็ ให้เอา “ก้อนยางลบสะอาดๆ” มาถูเบาๆ ช้าๆ บริเวณที่สกปรกจะช่วยให้อาการส่งข้อมูลติดขัดน้อยลงได้ แต่หากไม่มีคราบอะไรก็ไม่ต้องเอายางลบไปถูเล่นจะดีกว่านะครับ

4.เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชิ้นจะไร้ค่าทันที ถ้าหากไม่มีกระแสไฟฟ้า พาวเวอร์ซัพพลายจะทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้กับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์คุณมีอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เช่น 450 วัตต์ เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ

วิธีการซ่อมเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

   อาจจะเกิดจากการใช้งานมานาน ๆ จนทำให้อุปกรณ์ภายใน Power Supply เริ่มเสื่อมสภาพอาจมีการจ่ายไฟไม่ครบหรือปริมาณไม่เต็มที่ทำให้เครื่องแสดงสถานะว่ามีไฟเข้าแต่ไม่สามารถทำงานได้ 
   วิธีแก้คือให้ลองหาเพาเวอร์ซัพพลายมาลองเปลี่ยนดู สาเหตุก็คล้ายๆกับข้อแรกเมื่อเราใช้งานเพาเวอร์ซัพพลายไปในระยะเวลานานมันก็จะเริ่มมีอาการเสื่อมออกมาโดยบางทีเพาเวอร์ซัพพลายไหม้ได้หรือ บางครั้งอาจทำให้เครื่องค้างเนื่องจากมีอุปกรณ์บางตัวแย่งไฟชุดเดียวกันทำให้การจ่ายไฟไม่เพียงพอ วิธีการแก้ไขคือให้ลองหาเพาเวอร์ซัพพลายใหม่ๆมาลองเปลี่ยนแล้วทดสอบใช้ดู

วิธีการดูแลรักษาเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

   
   Power Supply นั้นถือว่าเป็นส่วนที่เริ่มต้นทั้งหมดของชุดจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบัน Power Supply นั้นเป็นวงจรแบบ Switching ข้อดีของวงจรแบบนี้คือ ไฟที่ได้มีลักษณะที่เรียบ และ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแหล่งจ่ายไฟที่ให้กับ Power Supply อีกที่ 
   แต่ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ Power ในลักษณะนี้นั้นหากมีไฟฟ้า กระชากเข้ามามาก ๆ ตัว Powerนั้นจะเสียก่อนซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันไฟที่ดีให้กับตัวเมนบอร์ดไม่ให้เสียหายเนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพงกว่า Power Supply มากรวมไปถึงอุปกรณ์ตัวอื่นๆ
   ดังนั้นการดูแลรักษาอุปกรณ์นี้จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เราสามารถที่จะใช้งานได้ยาวนานขึ้น

3.ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)



   ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-Rom Drive) ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบมัลติมีเดีย หรือเป็นสื่อผสม ซึ่งจะต้องใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งภาพและเสียง 
   ดังนั้น แผ่นซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อมีแผ่นซีดีรอมเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะต้องมีเครื่องผ่านแผ่นซีดีรอมที่เรียกว่า ซีดีรอมไดร์ฟ ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรนำแผ่นซีดี ที่เสียแล้ว หรือมีรอยขีดข่วนมากๆ มาอ่าน เพราะอาจทำให้หัวอ่านชำรุดได้ รวมถึงการใช้น้ำยาล้างหัวอ่านผิดประเภทด้วย

   ใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับเครื่องคอมฯ เช็ด บริเวณด้านนอก โดยอาจใช้พู่กันเล็กๆ ช่วยในการปัดฝุ่นออกเสียก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็คเครื่องคอมฯ ข้อควรระวัง! โดยปกติน้ำยาเหล่านี้ ห้ามเช็คหน้าจอ ถ้ามีฝุ่นหรือคราบนิ้วมือ 

   ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดก็เพียงพอแล้ว (ทิป น้ำยาทำความสะอาด โดยทั่วไป การใช้ควรใส่น้ำยาบนผ้าที่สะอาด จากนั้นลูบไปบริเวณตัวเครื่อง ทิ้งไว้สักพัก และค่อยเช็ดออก จะช่วยลดแรงในการขัดได้มาก)

2.เคส (CASE)


โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อและขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น

เรื่องการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ (เคส)การเลือกสถานที่วางเคสคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เมื่อเปิดเครื่องทำงานจะเกิดความร้อนขึ้น ดังนั้นที่วางคอมพิวเตอร์ควรคำนึงการระบายความร้อนด้วย ทำเลที่ตั้ง,แสง เป็นต้น


1.ควรวางไว้ห่างจากพนังห้องประมาณ 30 Cm 
  เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
2.ไม่ควรวางใกล้แอร์ เพราะการทำงานของแอร์ 

  จะมีสนามแม่เหล็กออกมาด้วย
3.ไม่ควรวางไว้ในที่ ที่มีน้ำสาดถึง เช่น หน้าต่าง 

  ไม่ควรวางในที่ ที่มีฝุ่นละอองมาก
4.ไม่ควรวางไว้ใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความถี่สูง เช่น โทรศัพท์มือถือ , มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้นไม่   ควรวางไว้ในที่ๆ มีแสงแดดจัด เพราะจะทำให้เกิดความร้อนจากแดดขึ้น
  

 การดูแลรักษา เคส


  การดูแลรักษาเคส นั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ปัญหาก็คือการเกิดไฟรั่วตามเคส 
ที่เป็นรอยต่างๆ เมื่อไปโดนจะรู้สึกจิ๊ด ๆ แต่ไม่เป็นอันตรายมากนักเพราะ กระแสไฟฟ้าหลังจากที่ 
ผ่าน power supply มาแล้วจะเหลือไฟประมาณ  8 v.หลังจากใช้เครื่องเสร็จควรใช้ผ้าคลุม Case คลุม เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าไปในเครื่อง


การทำความสะอาดเคส


หากจะทำความสะอาดให้ถอดปลักออกก่อน และให้นำผ้าแห้ง( พรมน้ำนิด ๆ ก็ได้ ) มาเช็ดบริเวณที่ต้องการ //// ห้ามใช้ ทินเนอร์เด็ดขาด ///
  การระบายความร้อน ใน case
เลือกสถานที่วาง computer ให้เมาะสมปลอดภัยใน case ควรมีพัดลมระบายอากาศอย่างน้อย 2 ตัว (พัดลม power supply และ cpu) หรือเราจะซื้อมาติดเพื่มก็ได้ครับ
โดยหาทำเล 
  ภายในเครื่องก่อนว่าจะติดไว้ตรงไหนขนาด ไม่ควรวางไว้ใกล้หน้าต่าง เพราะคิดว่ามีการถ่ายเทอากาศดี แต่ถ้าฝนตกน้ำฝนจะกระเด็นมาโดนเครื่อง คอมพิวเตอร์จนปิดหน้าต่างแทบไม่ทัน

  เนื่องจาก เคสเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์  

ดังนั้นผู้ใช้จึงควรปัดฝุ่นและใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาด 
  ตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างเคสกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆให้พร้อมก่อนการใช้งานและระมัดระวังไม่ให้ฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปทำอันตรายกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเคสอ

1.ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)



ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงในแผ่นฟลอปปีดิสก์ ซึ่งดิสก์ไดร์ฟก็มีหลายชนิด แต่ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปมักจะใช้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้ว การใช้งานดิสก์ไดร์ฟโดยทั่วไปไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก ถ้าผ่านปีแรกไปได้แล้วก็มักจะผ่านไปถึงปีที่ 3 ถ้าหากว่าดิสก์ไดร์ฟเสียในช่วงปีแรกก็สามารถส่งซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเสียหลังจากปีแรกแล้ว ก็ควรที่จะซื้อเปลี่ยนใหม่ เพราะถ้าซ่อมจะไม่คุ้มค่า เพราะราคาดิสก์ไดร์ฟในปัจจุบันมีราคาถูกมาก


การดูและรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้

1.เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน
  หรือรอยขูดขีดใดๆ
2.ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน
3.หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นานๆ 
  เพราะจะทำให้หัวอ่าน DiskDrive สกปรกได้ง่าย