วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

13.การทำงานของเคส (Case)


   เคสเป็นเพียงแค่กล่องโลหะสำหรับใส่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด, ฮาร์ดดิสก์, การ์ดจอและอื่นๆ เคสมีให้เลือกใช้กันหลายขนาดแล้วแต่ขนาดของเมนบอร์ดและการใช้งาน 
โดยจะแบ่งออกเป็น Flex/Micro ATX Case เป็นเคสขนาดเล็ก,Medium Tower Case เป็นเคสที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากขนาดกำลังพอเหมาะ,Server/Tower Case 
   เป็นเคสที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Server มีขนาดใหญ่กว่าเคสที่ใช้กันทั่วไปมาก สำหรับวัสดุที่ใช้ทำเคสก็มีหลายประเภท เช่น เคสเหล็ก,เคสโลหะ,เคสโลหะผสม,เคสอะลูมิเนียม,เคสพลาสติก,เคสผสม

เคสประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

1.   ฐานรองเมนบอร์ด สำหรับเป็นที่ยึดเมนบอร์ดให้ติดแน่นอยู่กับเคส 
2.   ปุ่มควบคุมประกอบด้วย ปุ่ม เปิด-ปิดเครื่อง และปุ่มรีเซตเครื่อง
3.   ไฟแสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และไฟแสดงสถานะว่าตอนนี้เครื่องทำงานอยู่
4.   ลำโพงเล็กๆ ที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนข้อผิดพลาดด้วยเสียง
5.   ช่องสำหรับใส่ไดร์ฟซีดีรอม, ฟลอปปิดิสก์ไดร์ฟ และช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์
6.   Bracket เป็นช่องทางสำหรับอุปกรณ์ต้องเชื่อมต่อภายนอกกับอุปกรณ์อื่น
7.   ช่องระบายความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อน
8.   ฝาครอบเคส เป็นฝาที่สามารถ เปิด-ปิด ได้เพื่อการติดตั้งอุปกรณ์ภายในเคส
9.   เพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายพลังงาน โดยมากมักมาพร้อมกับเคสเสมอ
10. พอร์ต USB และพอร์ตมัลติมิเดีย ซึ่งจะอยู่ด้านหน้าเคส ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ได้สะดวกขึ้น


     ถ้ามองจากด้านหน้าจะเห็นได้ว่าส่วนผู้ใช้จะใช้งานได้เพียงแค่ปุ่มสวิทช์ไม่กี่อัน ซึ่งปุ่มที่สำคัญคือ ปุ่มเปิด / ปิด เครื่อง (on /off หรือ power) ซึ่งมักจะเป็นปุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
เพื่อสะดวกในการใช้งานบางเครื่องจะมีปุ่มนี้เพียงปุ่มเดียวเท่านั้นที่อยู่บนเครื่อง 
  แต่บางเครื่องจะมีปุ่มที่เล็กๆที่กำกับไว้ด้วย คำว่า reset เพื่อใช้แทนการเปิดปิดเครื่องใหม่โดยไม่มีการปิดเครื่องซึ่งเป็นเพียงแต่ควบคุมการทำงานของซีพียูให้กลับไปเริ่มต้นใหม่เหมือนเพิ่งเปิดเครื่องเท่านั้น ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าอาจจะมีปุ่มที่เขียนว่า turbo ซึ่งโดยปกติจะเป็น on แต่ถ้ากดซ้ำให้ off ก็จะเป็นการลดเครื่องเร็วของเครื่องลง 
  เนื่องจากซอฟต์แวร์สมัยก่อนบางตัวอาจไม่สามารถทำงานได้ถูกต้อง ซึ่งตัวเครื่องใหม่รุ่นปัจจุบันไม่มีเรื่องแบบนี้อีกแล้ว ส่วนปุ่มที่เห็นได้ก็จะเป็นปุ่มของอุปกรณ์ในเครื่องซึ่งได้แก่ ดิสเก็ตต์ (disketteหรือ floppy disk) และซีดีรอม (cd - rom) 
  ซึ่งสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลจริง ๆ ไม่ได้ติดมากับตัวเรื่องแต่ปุ่มเหล่านี้จะใช้สำหรับนำแผ่นดิสก์หรือซีดีออกจากไดรว์เหล่านั้น
  ดวงที่จะติดสว่างอยู่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องเพื่อแสดงว่าขณะนี้กำลังเปิดเครื่องอยู่ส่วนดวงไฟอีกดวงจะกระพริบเป็นบางครั้ง 
  ก็คือไฟที่แสดงว่ากำลังมีการใช้งานฮาร์ดดิสก์อยู่ ซึ่งอยู่จะเป็นการอ่านหรือเขียนก็แล้วแต่ส่วนอีกดวงหนึ่งในปัจจุบันก็ไม่ค่อยเห็นกันแล้วก็คือไฟของปุ่ม turbo ส่วนด้านหลังของเครื่องจะเห็นช่องเสียบสายต่อต่างๆ 
   จำนวนมากที่เครื่องพีซีได้เตรียมไว้สำหรับการใช้งานหลากหลาย ได้แก่ คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ ช่องต่อโมเด็ม (หรือที่เรียกว่า พอร์ตอนุกรม - serial port)
  ช่องต่อเครื่องพิมพ์ (หรือที่เรียกว่าพอร์ตขนาน - parallel port) พอร์ต USB พอร์ตเกมสำหรับต่อ จอยสติ๊ก และอาจจะมีช่องเสียบของลำโพง ไมโครโฟน สายเสียบโทรศัพท์ สายเน็ตเวิร์ก 

   รวมทั้งช่องเสียบสายไฟเลี้ยงตัวเครื่องที่ต้องนำไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟในบ้านหรืออื่นๆ อีกมากมายตามแต่ว่าเครื่องนั้นมีอุปกรณ์อะไรติดตั้งอยู่บ้าง

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

12.การทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ

   อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นำอุปกรณ์มาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูล เพื่อสแกนรูปภาพ เพื่อทำให้เกิดเสียงเพลง เพื่อควบคุมไฟวิ่ง เพื่อตั้งศูนย์ถ่วงล้อรถยนต์ เพื่อควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงานต่าง ๆเป็นต้น 
   หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิด จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจะให้อุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดนั้นทำงานใด แต่อุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์จะต้องต่อสายเคเบิล หรือสายนำสัญญาณเข้ากับพอร์ตด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ 
   ซึ่งอาจจะเป็นพอร์ตขนานหรือพอร์ตอนุกรมก็แล้วแต่ที่จะกำหนด และโดยทั่วไปจะต้องมีโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นต่อพ่วงเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์ จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับเครื่องพิมพ์ตัวนั้นหรือนำคอมพิวเตอร์ไปควบคุมไฟวิ่งจะต้องเขียนโปรแกรมควบคุม ไฟวิ่งติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ด้วย

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

11.การทำงานของซีพียู (CPU: Central Processing Unit)


        CPU ทำหน้า เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ปวลผมข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน 
        ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุดแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป้น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน

        กลไกการทำงานของซีพียู การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำลั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่งหน้าที่หลักของซีพียู คือ ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบตลอดจนทำการประมวล 
        กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับชับซ้อน ผู้พัฒนาซพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น 


วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

10.การทำงานของเมนบอร์ด (Mainboard)


   ทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่อคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว 
   เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มี
   ความสวยงาม ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply)ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น


ส่วนประกอบของเมนบอร์ดจะประกอบไปด้วย



วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

9.การทำงานของจอภาพ (Monitor)

   จอภาพทำงานโดยการแสดงภาพซึ่งอาจเป็นภาพกราฟิกหรือตัวอักษรซึ่งเกิดจากการประมวลผลของการ์ดวีจีเอ (VGA Card) จอภาพแบ่งเป็น ประเภท คือจอภาพสีเดียวหรือจอภาพโมโนโครม ( Monochrome) และจอสี ( Color Monitor) 
   ปัจจุบันจอภาพสีเดียวนั้นไม่เป็นที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ หากจะมีใช้ก็เฉพาะงานเฉพาะอย่างเท่านั้น ส่วนที่นิยมใช้ก็คือจอสี โดยแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภท คือจอสีวีจีเอ(VGA = Video Graphics Array)และจอสี Super VGA(SVGA = Super Video Graphics Array )และจอ LCD(Liquid Crystal Display) 
   ซึ่งประเภทหลังนี้มีราคาแพงมาก จอภาพที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือจอ SVGA เนื่องจากมีราคาไม่แพงมากนัก และเหมาะกับ Application ที่ออกแบบให้มีความสามารถแสดงภาพกราฟิก นอกจากนี้ Application ประเภทมัลติมีเดียหรือเกมส์ต่างๆ ต่างก็ต้องการจอภาพที่มีความละเอียดสูง (High Resolution) สามารถแสดงสีได้หลายๆสี

   จอภาพมีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์โดยจะมีกระแสไฟฟ้าแรงสูง ( High Voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัว อิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง



    ความเป็นมาของการ์ดวีจีเอการ์ดวีจีเอหรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ VGA Adapter Card ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของจอภาพ โดยข้อมูลที่จะแสดงจะถูกส่งจากซีพียูมายังการ์ดวีจีเอ เพื่อประมวล ในขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลจากดิจิตอลเป็นอนาล๊อก แล้วส่งไปยังวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ของจอภาพ เพื่อให้ปรากฎเป็นภาพบนหน้าจอ













วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

8.การทำงานของการ์ดจอ (Graphic Card)

         
   ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor)ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือAGP (Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก และอีกระบบหนึ่งคือ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด



    
   โปรแกรมในปัจจุบันมีความต้องการการคำนวณทางด้านกราฟิคที่สูงมาก อย่างที่รู้ๆ กันคือ เกมส์ ที่เรากันอยู่ในปัจจุบันครับ บรรดาผู้ผลิตต่างก็พัฒนาเกมของตนให้มีภาพกราฟิคที่ละเอียดสมจริง การ์ดจอจึงต้องพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งกราฟฟิคที่
สวยงาม ตระกาลตา ปัจจุบันนี้ก็ HD(Hi definition) กันเกือบหมดแล้ว



วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

7.การทำงานของเมาส์ (Mouse)

   เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer" (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) 
   เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป 

   กลไกการทำงานของเมาส์

      กลไกการทำงานของเมาส์ มี 3 ประเภท คือ Mechanical, Opto-Mechanical, Optical

Mechanical


    เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง ที่สามารถกลิ้งไปมาได้ เมื่อทำการเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ซึ่งลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อกับจานแปลรหัส (Encoder) บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ 

    เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส ก็จะสร้างสัญญาณ บอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพต่อไป




Opto-Mechanical

    กลไกการทำงานคล้าย Mechanical แต่ตัวรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder จะมี LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส

Optical

    กลไกการทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์ จะมี LED 2 ตัวให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำ และสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีดำ จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสง เป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไป จะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

6.การทำงานของแป้นพิมพ์ (Keyboard)

การทำงานของแป้นพิมพ์

   การทำงานของคีย์บอร์ด จะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่ม ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าส่งให้คอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร การทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ด และสัญญาณต่างๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อของแป้นพิมพ์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ1.5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) connector เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่       ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก
2.6-pin IBM PS/2 mini-DIN connector เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก ปัจจุบันพบได้         อย่างแพร่หลาย
3.4-pin USB (Universal Serial Bus) connector เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่
  internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน พบได้ใน Notebook Computer

ปุ่มบนแป้นพิมพ์

    ในการพิมพ์ตัวอักษรเราจะใช้ปุ่มอักขระ ซึ่งเรียงตัวแบบเดียวกับในเครื่องพิมพ์ดีดทั่วไป ซึ่งเราเรียกว่า QWERTY ซึ่งเป็นตัวอักษรในแถวบน 6 ตัวนั่นเอง การเรียงตัวแบบนี้เพื่อทำให้ความเร็วในการพิมพ์ของนักพิมพ์ดีดลดลง เหตุผลก็คือ บริษัทพิมพ์ดีดสร้าง เนื่องจากกลไกการทำงานของแขนของเครื่อมพิมพ์ดีดจะมาทับกันได้ถ้าคนพิมพ์เร็วเกินไป แล้วก็กลายมาเป็นรูปแบบที่ใช้กันมายาวนานจนจนกลายเป็นมาตรฐาน และผู้ใช้เริ่มคุ้นเคย บริษัทที่ผลิตแป้นพิมพ์ก็เลยผลิตแป้นพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ใรแบบเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องการทับกันของแขนพิมพ์ก็ตาม ต่อไปจะอธิบายหน้าที่การทำงานของปุ่มบางปุ่มที่น่าสนใจ
  • ปุ่ม Alt จะมีสองปุ่มอยู่ข้างๆ แถบ space bar ปุ่มAlt จะใช้เป็นปุ่มเสริมคล้ายกับปุ่ม shift นั่นก็คือ เมื่อเรากด A ตัวเดียวหน้าจอก็จะปรากฏตัวอักษร A แต่ถ้าเรากด Alt กับ A พร้อมกัน ก็จะกลายเป็นการเรียกใช้ฟังก์ชันของคำสั่ง Alt-A ซึ่งฟังก์ชันหรือการทำงานของคำสั่งนั้นในแต่ละโปรแกรมจะแตกต่างกัน
  • ปุ่ม Crtl จะมีสองปุ่มเช่นเดียวกับปุ่ม Alt เป็นปุ่มเสริมเช่นเดียวกับปุ่ม Alt การทำงานก็คล้ายกัน ตัวอย่าง เมื่อคุณกด Ctrl หร้อมกับ ตัวอักขระ ก็จะเป็นการสั่งงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามโปรแกรมที่ใช้งาน
  • ปุ่มวินคีย์ หรือ window key เป็นปุ้มที่มีสัญลักษณ์ของวินโดว์ ซึ่งเป็นสำหรับอำนวยความสะดวก ในการเปิดใช้โปรแกรม ต่างๆ ปุ่มนี้จะอยู่ทางซ้าย มือ อยู่ระหว่าง ปุ่ม Ctrl และ Alt ปุ่มนี้ไม่ได้ทำงานเฉพาะกับระบบปฏิบัติการวินโดว์เท่านั้น ในระบบปฏิบัติการอื่น ก็สามารถทำงานได้เช่นกัน ถ้ามีไดร์เวอร์ที่คอยตรวจสอบการกดแป้นของปุ่มวินคีย์ 
  • ปุ่มตัวเลข เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของแป้นพิมพ์เพื่อความสะดวกในทางธุรกิจ ปุ่มที่เพิ่มลงไปมีทั้งหมด 17 ปุ่ม ซึ่งมีการเรียงตัวคล้ายๆ ในเครื่องคิดเลข เพื่อความสะดวกในการใช้งานนั่นเอง
  • ปุ่มควบคุม  ส่วนใหญ่แล้ว ปุ่มควบคุมจะให้คุณสามารถเลื่อนหน้าหรือบรรทัดได้ทีละมากๆ ปุ่มควบคุมต่างๆ ได้แก่
 Home
 End
 Insert
 Delete
 Page Up
 Page Down
 Control (Ctrl)
 Alternate (Alt)
 Escape (Esc)

    ปุ่มควบคุม เมื่อทำงานร่วมกับปุ่มอื่นสามารถสั่งงานบางอย่างได้ ได้้แก่
Alt+F4 ใช้ปิดหน้าต่างการทำงานที่กำลังเปิดอยู่ และปุ่ม start window หรือ WK สามารถทำงานร่วมกับปุ่มอื่นได้ ดังนี้
  • WK+e - ใช้เปิด Windows Explorer
  • WK+f - ใช้เปิด เริ่มต้นหา ไฟล์ หรือ โฟลเดอร์
  • WK+Ctrl+f - ใช้เปิด หา คอมพิวเตอร์บนเครือข่าย
  • WK+M - เป็นคำสั่งย่อหน้าต่างทำงานใช้แสดงหน้าจอเริ่มแรกหรือ desktop
  • WK+Shift+M - ใช้ขยายหน้าต่างที่ถูกย่อเอาไว้
  • WK+r - สั่งให้เปิดหน้าต่าง Run dialog ขึ้น
  • WK+F1 - ใช้เปิดหน้าต่างความช่วยเหลือ
  • WK+Pause - ใช้เปิด คุณสมบัติของระบบ (system properties)

จากแป้นพิมพ์สู่คอมพิวเตอร์

    เมื่อคุณพิมพ์ลงบนแป้นพิมพ์ ตัวควบคุมหรือ โปรเซสเซอร์ของแป้นพิมพ์จะวิเคราะห์ปุ่มว่าเป็นปุ่มใดจากตำแหน่งที่กดลง เก็บไว้ในมีหน่วยความจำเล็กๆ ขนาดประมาณ 16 ไบต์ จากนั้นก็จะส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ผ่านการเชื่อมต่อซึ่งมีอยู่หลายชนิด

    ตัวต่อสายแป้นพิมพ์โดยทั่วไปมีดังนี้ 
  • 5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) connector 
  • 6-pin IBM PS/2 mini-DIN connector 
  • 4-pin USB (Universal Serial Bus) connector 
  • internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน พบได้ใน Notebook Computer

    ขั้วต่อแบบแรก 5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่ ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก หาได้ยากแล้วในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้ 6-pin IBM PS/2 mini-DIN เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก และต่อมาก็มีการพัมนาแบบ 4-pin USB (Universal Serial Bus) ขึ้น แต่อย่างไรก็ตามขั้วต่อแป้นพิมพ์เป็นชนิดใดนั้น หลักการในการส่งต่อข้อมูลไปสู่คอมพิวเตอร์ จะต้องมีการจ่ายกระแสไฟไปยังแป้นในการทำงาน โดยทั่วไปแป้นพิมพ์จะใช้ ประมาณ 5 โวลต์ และช่องทางในการส่งข้อมูลจากแป้นพิมพ์ไปสู่คอมพิวเตอร์
ที่ปลายสายอีกด้านหนึ่งจะมีส่วนที่คอยตรวจสอบการทำงานของแป้นพิมพ์ เรียกว่า ตัวควบคุมแป้นพิมพ์ ซึ่งเป็นวงจรIC ตัวควบคุมแป้นพิมพ์จะประมวลผลข้อมูลทุกอย่างที่มาจากแป้นพิมพ์ และส่งต่อไปยังระบบปฏิบัติการ เมื่อระบบปฏิบัติการรับข้อมูลก็จะตรวจสอบต่างๆ ดังนี้


  • ตรวจสอบว่าเป็นคำสั่งระบบหรือไม่ คำสั่งระบบเช่น Ctrl-Alt-Del ซึ่งเป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์บูทเครื่องใหม่
  • โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่จะรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ในระดับที่โปรแกรมนั้นเข้าใจ และตรวจสอบว่าเป็นคำสั่งของโปรแกรมหรือไม่ เช่น Ctrl-O เป็นคำสั่งเปิดไฟล์ขึ้น เป็นต้น
  • โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่จะรับข้อมูล (ถ้าข้อมูลที่ได้รับไม่ใช้คำสั่ง) เพื่อทำงานต่อไป
  • นอกจากนี้ โปรแกรมยังสามารถไม่รับคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ จากแป้นพิมพ์ หรือเพิกเฉยต่อข้อมูลที่ส่งเข้ามาได้ด้วย

คีย์บอร์ดในอนาคต

    คีย์บอร์ด มีการพัฒนาไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะยุคโลกไร้พรมแดน ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต บริษัทผู้ผลิตหลายบริษัท ได้ทำการผลิตคีย์บอร์ด ที่มีปุ่มฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบอีเมล์ และการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ตลอดจนควบคุมระบบมัลติมีเดียต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ปัจจุบัน ความต้องการคีย์บอร์ดที่สะดวกต่อการพกพา ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ คือคีย์บอร์ดแบบพับได้ ซึ่งทำได้สารพลาสติกที่มีการใส่วงจรภายใน ที่สามารถพับม้วนได้สะดวก

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

5.การทำงานของฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

การทำงาน

1.วงจรควบคุมของฮาร์ดดิสก์จะสั่งให้หัวอ่านเคลื่อนตัวโดยควบคุมมอเตอร์ของหัวอ่าน
2.มอเตอร์หมุนแผ่นในขณะที่คอมพิวเตอร์ทำงาน
3.เมื่อมีโปรแกรมร้องขอข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์หัวอ่านจะไปยังตำแหน่งที่ได้รับจากหน่วยควบคุมของฮาร์ดดิสก์
4.เมื่อหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วก็เริ่มทำการอ่านเขียนข้อมูลได้
   เมื่อระบบมีการส่งข้อมูลไปให้ hard drive ทำการบันทึกเก็บไว้มันก็จะใช้สูตรทางพีชคณิต ที่ซับซ้อนทำการประมวลข้อมูลนั้นออกมาเป็นบิต ( bit ) ซึ่งการใช้สูตรดังกล่าวต้องใช้พื้นที่
บางส่วนของฮาร์ดิสก์ เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ของข้อมูลด้วย (hard drive
   จะใช้สูตรพีชคณิตนั้น คำนวณที่อยู่ ขึ้นมา) เพื่อประโยชน์ในการ ดึงข้อมูล นั้นกลับมาแก้ไขได้ ในภายหลังหากมีความผิดพลาดใดๆขึ้น

   การบันทึกข้อมูลฮาร์ดดิสก์จะทำการคำนวณว่า จะเก็บเอาไว้ที่ Sector ใดจึงจะเหมาะสม ที่สุดจากนั้นมันก็จะคำนวณว่า Sector นั้นอยู่บน Platter ใดเพื่อให้หัวอ่านที่ Platter นั้น ทำการบันทึกข้อมูลโดยหัวอ่านก็จะเคลื่อนที่ไปมาบนแผ่น Platter ที่มีข้อมูลที่ต้องการบันทึกอยู่ ซึ่งเวลา ในช่วงนั้น เรียกกันว่า 
   เวลาในการค้นหา และยิ่งเวลาในการค้นหาสั้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่สูงกว่า ของไดรฟ์นั้นเมื่อไดรฟ์ได้พบกับข้อมูลที่ต้องการแล้วมันก็จะส่งคลื่นไฟฟ้าไปที่หัวอ่านส่งผลให้ เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นมาทำให้โครงสร้างของสนามแม่เหล็กบนพื้นผิวของ platter เปลี่ยนไปและก็จะ สามารถบันทึกข้อมูลลงไปบนพื้นผิวนั้นได้

   การอ่านข้อมูลนับเป็นปัจจัยสำคัญในการบันทึกข้อมูลด้วยทั้งนี้ไดรฟ์ จะเป็นตัวกำหนดสัดส่วน ของการอ่านข้อมูลจาก track หรือ sector ที่เก็บข้อมูลนั้นไว้และจะต้องรอจนกว่าข้อมูลจาก track นั้น ถูกส่งเข้ามา ในระบบเมื่อหัวอ่านได้ข้อมูลที่ถูกต้องกระบวนการอ่านและบันทึกข้อมูล 

   ก็จะเริ่มขึ้นโดยข้อมูลที่ถูกบันทึกนั้นจะมีค่าเป็น bit และหากไดรฟ์ตรวจสอบพบว่ามี bit ตัวไหนขัดข้องมันก็จะหาทางแก้ปัญหาให้เรียบร้อยและส่งข้อมูลนั้นกลับไปที่ระบบปฏิบัติการอีกครั้งหนึ่ง

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

4.การทำงานของแรม (RAM) (Random Access Memory)

            

            
           หน่วยความที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว (Ram) ที่ได้รับการพัฒนาและยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SD-RAM จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกัน SD-RAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ DDR-RAM สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) ขึ้นไปได้ และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ 
            รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เทียบกับSD-RAM ปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกาเพียงด้านเดียวคะ แรมชนิดนี้สังเกตุได้จากมีจำนวนขาสัญญาณ(Pins) 184 ขา และเขี้ยวที่ด้านสัมผัสทองแดงมีอยู่ที่เดียว แตกต่างจาก SD-RAM ที่มีอยู่ 2 ที่ RAM DDR2

           กฎ หลักของ DDR II เป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจได้ทันทีว่า DDR II คืออะไร ซึ่งเช่นเดียวกันกับ การทำงานของ DDR ที่มีการรวมสัญญาณที่ระบบ IO-buffer ในขณะที่ข้อมูลได้ส่งจากหน่วยความจำได้มาถึง 4 ทาง โดยเป็นการส่งข้อมูลแบบ 16bit ซึ่งวิธีที่จะใช้ในการเพิ่มขึ้นของอัตราข้อมูล ดังนั้นเราจะได้รับ ผลของอัตราของคลื่นความถี่ของข้อมูลถึง 400MHz และยังเป็นข้อมูลที่มีความกว้าง 64bit เท่าเดิม สำหรับชื่อของ DDR II 400 ซึ่งเครื่องหมายของระบบก็ จะเหมือนกับ DDR 
           ยังมีการบอกถึงผลของการโอนถ่ายข้อมูลและอัตราของคลื่นความถี่ที่มีลักษณะ เหมือนกัน แต่มีความต่างของ Memory Bandwidths ที่ 100Mb/s สำหรับ SDRAM และ 200Mb/s สำหรับ DDR และ 400Mb/s สำหรับ DDR II ซึ่งจะเห็นได้ว่า DDR II นั้นมีความเร็วในการส่งข้อมูล ได้เร็วขึ้นมากกว่า DDR ถึงเท่าตัว 

           แม้ว่าหน่วยของความจำจะมีการทำงานที่ความเร็วเท่ากัน นั้นคือ 100MHz ถ้าจะกล่าวอย่างง่ายก็คือ ในความ เร็วของหน่วย ความจำที่ 100MHz นั้น DDR II สามารถที่จะส่งข้อมูลได้เร็วกว่า DDR ถึง 1 เท่า สำหรับที่ความเร็ว 100MHz นั้นคงจะเห็นผลแตกต่าง ได้น้อย แต่เมื่อ เทียบกับ PC133 ของ SDRAM แล้วจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น สำหรับ PC133 ของ SDRAM นั้นสามารถที่จะมีความเร็วในการทำงานที่ความเร็ว Bus 133MHz ส่งข้อมูลได้ที่ 133Mb/s 
           เมื่อมาถึงแบบ DDR ความเร็วจะกลายเป็น 266Mb/s ที่ความเร็ว Bus 133MHz เท่าเดิม แต่สำหรับ DDR II การเปลี่ยนแปลงระบบภายในทำให้ชิปที่ใช้หน่วยความจำ ที่มีความเร็ว 133MHz สามารถที่จะมีความเร็ว Bus ที่ 266MHz และส่งข้อมูลได้มากถึง 533Mb /s จึงถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ตอบรับปัญหาในเรื่องของหน่วยความจำที่จะมารอง รับระบบ Bus ที่มีความเร็วสูงขึ้นได้เป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

3.การทำงานเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

หลักการทำงานของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย

          สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายโดยทั่วไปมีองค์ประกอบพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน และไม่ซับซ้อนมากนัก ดังแสดงในรูปที่ 1 หัวใจสำคัญของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจะอยู่ที่คอนเวอร์เตอร์ เนื่องจากทำหน้าที่ทั้งลดทอนแรงดันและคงค่าแรงดันเอาต์พุตด้วย องค์ประกอบต่างๆ ทำงานตามลำดับดังนี้

                                      รูป 1 องค์ประกอบพื้นฐานของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย

          
         แรงดันไฟสลับค่าสูงจะผ่านเข้ามาทางวงจร RFI ฟิลเตอร์ เพื่อกรองสํญญาณรบกวนและแปลงเป็นไฟตรงค่าสูงด้วยวงจรเรกติไฟเออร์ เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์จะทำงานเป็นเพาเวอร์คอนเวอร์เตอร์โดยการตัดต่อแรงดันเป็นช่วงๆ ที่ความถี่ประมาณ 20-200 KHz จากนั้นจะผ่านไปยังหม้อแปลงสวิตชิ่งเพื่อลดแรงดันลง เอาต์พุตของหม้อแปลงจะต่อกับวงจรเรียงกระแส และกรองแรงดันให้เรียบ การคงค่าแรงดันจะทำได้โดยการป้อนกลับคาแรงดันที่เอาต์พุตกลับมายังวงจรควบคุม
         เพื่อควบคุมให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์นำกระแสมากขึ้นหรือน้อยลงตามการเปลี่ยนแปลงของแรงดันที่เอาต์พุต ซึ่งจะมีผลทำให้แรงดันเอาต์พุตคงที่ได้ รูปที่ 2 แสดงวงจรซึ่งแบ่งส่วนตามองค์ประกอบหลักในรูป 1 เพื่อเป็นตัวอย่าง 


คอนเวอร์เตอร์

  • กรุณา กดที่นี่ เพื่อเข้าสู่หัวข้อย่อยเรื่องคอนเวอร์เตอร์

วงจรควบคุม

  • กรุณา กดที่นี่ เพื่อเข้าสู่หัวข้อย่อยเรื่องวงจรควบคุม

วงจรตัวอย่างและไอซีที่ใช้งานในสวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย

  • กรุณา กดที่นี่ เพื่อเข้าสู่หัวข้อย่อยเรื่องวงจรตัวอย่างและไอซีที่ใช้งานในสวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย

บทสรุป

    สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นแหล่งจ่ายไฟตรงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าและมีน้ำหนักเบากว่าเพาเวอร์ซัพพลายเชิงเส้นสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายทำงานโดยแปลงแรงดันไฟสลับความถี่ต่ำจากอินพุตให้เป็นไฟตรง จากนั้นจึงเปลี่ยนกลับไปเป็นไฟสลับ (พัลส์) ที่ความถี่สูง แล้วส่งผ่านหม้อแปลงเพื่อลดแรงดันลงและผ่านวงจรเรียงกระแสและกรองแรงดันเพื่อให้ได้ไฟตรงอีกครั้งหนึ่ง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายประกอบด้วย3 ส่วนใหญ่คือ วงจรฟิลเคอร์และเรกติไฟเออร์ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับเป็นไฟตรคอนเวอร์เตอร์ 
    ทำหน้าที่แปลงไฟตรงเป็นไฟสลับความถี่สูงและแปลงกลับเป็นไฟตรงโวลต์ต่ำและวงจรควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอนเวอร์เตอร์เพื่อให้ได้แรงดันเอาต์พุตตามต้องการ

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

2.การทำงานซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)

    

   การทำ งานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม 
      โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุม ลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม 
      จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

1.การทำงานของดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)


      ฟลอปปี้ดิสก์ (floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่มีลักษณะเป็นดิสก์แบบอ่อนที่ทำมาจากแผ่นไมลาร์และเคลือบด้วยสารแม่เหล็กบาง ๆ ทั้งสองด้าน 
   เพื่ออาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปจะมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม  มีขนาดตั้งแต่ 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว 3.5 นิ้ว ตามลำดับ และแต่ละประเภท ยังแบ่งตามประเภทความจุของแผ่นดิสก์ ได้อีกคะ

- ดิสก์ไดร์ฟ สำหรับแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้ว ความจุ 740 KB
- ดิสก์ไดร์ฟ สำหรับแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้ว ความจุ 1.44 MB - HD: high density
- ดิสก์ไดร์ฟ 5.25 นิ้ว สำหรับแผ่นดิสก์ 5.25 นิ้ว ความจุ 640 KB
- ดิสก์ไดร์ฟ 5.25 นิ้ว สำหรับแผ่นดิสก์ 5.25 นิ้ว ความจุ 1.2 MB - HD: high density


ปัจจุบันแทบจะไม่มีผู้ใช้ฟลอปปี้ดิสก์แล้วคะ เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่นไป เช่น ซีดีรอมดีวีดีรอมแฮนดี้ไดร์ฟ